วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันมาฆบูชา


มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่

วั น"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน
วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา


จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม)
๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖
๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)



โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน

๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)

๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.

ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)



หมายเหตุ
** อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ
สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

อภิญญา ๖
อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่
๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต)
๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป-คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

สาเหตุของการชุมนุม
คงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนและในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
เป็นวันที่ทางศาสนาพราณ์ได้ประกอบพิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อคิด ชีวิตมีสุข

1. เราไม่ได้มีชีวิตเพื่อการเฝ้านั่งเสียใจร่ำไห้ หรือ พูดถึงแต่สิ่งที่เราทำผิดพลาดในอดีต รู้จักให้อภัยตัวเองในสิ่งที่เราทำผิดพลาด แล้วไม่นึกถึงมันอีก
2. เรียนรู้ที่จะให้อภัยผู้อื่น ในสิ่งที่เขาทำผิดพลาดในอดีต แล้วไม่พูดถึงมันอีก
3. การปล่อยวางไม่ใช่เป็นการยอมแพ้ ตรงกันข้าม เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งจากส่วนลึกของหัวใจของเราวันละน้อย เพื่อเอาชนะความอ่อนแอ
4. ชีวิตไม่ได้เติบโตจากการทำให้ทุกสิ่งได้ดั่งใจของเรา แต่เป็นการยอมรับทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตของเราอย่างกล้าหาญ รักและเข้าใจทุกสิ่งที่เราได้ตัดสินใจทำลงไปทุกครั้ง
5. เรียนรู้ความจริงว่าเราไม่สามารถบังคับผู้อื่นให้คิดและทำในสิ่งที่เราต้องการได้ เพราะแม้แต่ตัวเราเอง ยังทำให้เป็นอย่างที่เราต้องการไม่ได้เลย
6. อย่าเสียเวลาคิดแค้นเคืองโกรธในการกระทำของผู้อื่นที่ส่งผลให้เราทุกข์ใจ ให้อภัยเขาเสีย และหากอยากรู้สึกดีขึ้น ก็นึกถึงคำสอนในพุทธศาสนาว่า ใครทำกรรมใดไว้ ผู้นั้นย่อมได้รับผลนั้นได้ด้วยตนเอง
7. วัตถุหรือภาพลวงตาภายนอกไม่เคยสามารถเติมเต็มหัวใจใครได้ การตั้งหน้าตั้งตาหาวัตถุ หรือความพึงพอใจจากการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เพื่อหวังว่าจะทำให้เรารู้สึกเต็มและมีความสุข นั่นเป็นแค่ฝันลมๆแล้งๆ การรับวัตถุทำให้เรามีความต้องการไม่รู้จบ ขณะที่การได้รับความรักความเข้าใจจากคนที่รักอย่างเต็มเปี่ยมจะทำให้เรามีหัวใจที่ "เต็ม" จนไม่ต้องไขว่คว้าหาวัตถุมาเติมเต็มหัวใจอีก

หมดหวังท้อแท้ในชีวิต..คิดอย่างไรให้ใจสู้

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาของชีวิต.. หลายคนคงผ่านบทเรียนแห่งชีวิตมานับไม่ถ้วน.. ทั้งบทเรียนแห่งความผิดหวัง.. บทเรียนแห่งความท้อแท้..แพ้ชีวิต.. บทเรียนแห่งความสำเร็จ..
ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนใด ๆ ก็ตาม.. เมื่อเราเกิดความผิดหวัง...ท้อแท้..ในชีวิต.. เราต้องพยายามปรับใจ..วางใจให้ถูก.. ด้วยวิธีการคิดที่จะปรับเปลี่ยน..ชีวิตของเรา.. ให้มีกำลังใจ..สู้ต่อไป..
๔ วิธีคิดที่จะสร้างพลังใจให้สู้ คือ..

วิธีที่ ๑ คิดแบบตรงกันข้ามกับความรู้สึกในขณะนั้น เช่น >>>…ถ้าทุกข์ ก็คิดสร้างสุข >>>…ถ้ายากก็คิดแบบง่าย... >>>…ถ้าเกิดปัญหา ก็คิดแก้ปัญหา..

วิธีที่ ๒ คิดแบบสร้างกำลังใจ เช่น >>>…ปลุกปลอบใจตนเอง...ทุกครั้งที่เกิดความท้อแท้..ผิดหวัง >>>…บอกตนเองเสมอว่า..เราต้องทำได้..เราต้องทำได้อย่างแน่นอน.. >>>…เราต้องทำได้แน่นอนที่สุด..ไม่มีคำว่า..ทำไม่ได้.. >>>…ท่องไว้ในใจว่า..ไม่มี ไม่เป็น ไม่เหนื่อย... >>>….ไม่ทุกข์ ไม่ท้อ ไม่หนี ไม่มีปัญหา...

วิธีที่ ๓ คิดแบบมีเป้าหมายในชีวิตที่แน่นอน มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว.. >>>…หากยังไม่ประสบความสำเร็จ.. >>>…ก็จะไม่เลิก ลด ละ ความเพียรพยายาม.. >>>…จงสู้ต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ.. >>>…แม้จะเป็นวินาทีสุดท้ายของลมหายใจก็ตาม..

วิธีที่ ๔ คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก.. >>>…มองปัญหาออก..แก้ปัญหาเป็น.. >>>…คิดการใหญ่...ใช้คนเป็น..รู้เห็นตามความถูกต้อง.. >>>…มุ่งปรองดอง...รักษาน้ำใจ..สร้างมิตรภาพ.. >>>…อย่าลืมว่า.. “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” ... >>>…ต้องคิดดี..ทำดี..พูดดี..ทุกที่ทุกเวลา...

ดังนั้น.. ถ้าท้อแท้..หมดหวังในชีวิต.. จงพยายามคิดให้ใจสู้... อย่าเชื่อว่า...เราทำไม่ได้..ถ้ายังไม่ได้ลงมือทำ.. อย่าท้อแท้..ตราบใดที่เรายังไม่ได้พยายาม.. อย่าสิ้นหวัง...ตราบใดที่เรายังมีกำลังใจ.. อย่าแพ้ชีวิต...ตราบใดที่ใจของเรายังมีหวัง.. จงอย่าทำลายความหวัง...เพียงเพราะ.... การดูหมิ่นตนเองว่า... “ทำไม่ได้”...

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กบวิเศษ


กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีกบวิเศษตนหนึ่ง อาศัยอยู่ในป่าซึ่งเป็นป่าดงดิบลึกลับ ยากที่จะมีมนุษย์หรือสัตว์ชนิดใดเดินทางไปถึง แต่แล้ววันหนึ่งกบวิเศษได้ยินเสียงสัตว์สองชนิดวิ่งไล่กวดกันมาอย่างเอาเป็นเอาตาย ที่แท้มันคือหมีตัวใหญ่กำลังไล่ล่ากระต่ายเจ้าเล่ห์เพื่อนำไปทำดินเนอร์มื้อเย็น กบวิเศษเรียกให้สัตว์ทั้งสองหยุดตอบข้อซักถามเพราะตลอดชีวิตของมันไม่เคยพบหมีและกระต่ายวิ่งไล่กันมาก่อน "เจ้าทั้งสองวิ่งกวดกันแทบเป็นแทบตายเพราะเหตุใดหรือ" กบถาม "มันจะจับข้าทำอาหาร" กระต่ายตอบลิ้นห้อยด้วยความเหนื่อย "อ๋อ เป็นเช่นนี้เอง เอาเถอะ อย่าทำร้ายซึ่งกันและกันเลย เราจะให้พรวิเศษเจ้าตัวละ 3 ข้อ หวังว่าคงจะช่วยลดความขัดแย้งลงได้" ทั้งหมีและกระต่ายรับคำด้วยความยินดี เจ้าหมีเป็นฝ่ายขอพรก่อน มันคิดอยู่เป็นนาที จึงกล่าวว่า "ข้าอยากให้หมีทั้งหมดป่าแห่งนี้ยกเว้นตัวข้าเป็นตัวเมียทั้งสิ้น" กล่าวเสร็จมันพลันตัวสั่นขนพองด้วยความสยิว กลิ่นสาบสาวจากหมีตัวเมียฟุ้งไปทั่วป่า กระต่ายผู้น่าสงสารของเพียงหมวกกันน็อกหนึ่งใบ "เจ้ากระต่ายปัญญาอ่อนหน้าโง่ ถ้ามันขอเงินสักพันล้านมันสามารถซื้อหมวกกันน็อกได้หลายล้านใบ แต่ช่างเถอะ ไม่ใช่ธุระอะไรของเรา" เจ้าหมีบ้าเซ็กซ์ขอพรข้อสอง มันคิดอยู่นานสามนาทีก่อนจะกล่าวว่า "ข้าปรารถนาให้หมีทุกตัวในป่าถัดไปกลายเป็นตัวเมียทั้งสิ้น" กล่าวเสร็จตัวมันพลันน้ำลายไหลด้วยความสยิว หมีตัวเมียเพิ่มอีกนับร้อยตัว มันจะตั้งฮาเร็มหมี กระต่ายน้อยขอมอเตอร์ไซต์หนึ่งคัน เมื่อได้สมปรารถนามันก็สวมหมวกกันน็อก ขึ้นคร่อมและสตาร์ทรถทันที หมีใหญ่ขอพรข้อสุดท้าย "ข้าปรารถนาให้หมีทุกตัวในโลก ยกเว้นตัวข้า กลายเป็นหมีตัวเมียทั้งสิ้น" โอ .. มันแทบจะรอไม่ไหวแล้ว แต่แล้วมันถึงกับช็อค เมื่อได้ยินกระต่ายน้อยขอพรข้อที่สาม ก่อนบึ่งรถหนีไป "ข้าขอให้เจ้าหมีตัวนี้เป็นเกย์"